วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก


ความเป็นมา เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า ทศชาติ แต่อีก ๙ เรื่อง ไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก เรื่องเดียวว่า มหาชาติ ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดประทานอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้ ๑. เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า พระนามว่า ศรีอริยเมตไตย ในอนาคต ๒. เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร ๓. เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก ๔. เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอริยเมตไตย จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์ ๕. ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์ จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคล ในบวรพุทธศาสนา มูลเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาชาติ คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูป และพระประยูรญาติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์ ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์ ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่า พระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์ โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระประยูรญาติทั้งหลาย พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติ มหาเวชสันดรชาดก เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้ มหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี คือ ทานบารมี = ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี ศีลบารมี = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต เนกขัมมบารมี = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต ปัญญาบารมี = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช วิริยาบารมี = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน สัจจบารมี = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้ ขันติบารมี = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้ เมตตาบารมี = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย อุเบกขาบารมี = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว อธิษฐานบารมี = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์ เนื้อเรื่อง หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก หรือเรื่องมหาชาติ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ตามลำดับ

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ความเป็นมา บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติผู้แต่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ ลักษณะคำประพันธ์ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน เรื่องย่อ เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา เนื้อเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น ปูดปูนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน (จิตร ภูมิศักดิ์) ต่อมาพระองค์ได้ทรงอ่านบทกวีของชาวจีบบทหนึ่ง มีใจความว่า หว่านข้าวในฤดูใบไม่ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน เหงื่อหยดบนดินภายใต้จ้นข้าว ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง ความเป็นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง “อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี” เรื่องย่อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้ง หนึ่ง ใจความสำคัญของมงคลสูตรคำฉันท์ คาถาบทที่ ๑ ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ และควรบูชาคนดี คาถาบทที่ ๒ ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน ทำบุญไว้แต่ปางก่อน คาถาบทที่ ๓ รู้จักฟัง รู้จักพูด มีวินัย ใฝ่ศึกษาหาความรู้ คาถาบทที่ ๔ ดูแลบิดามารดา บุตร ภรรยาเป็นอย่างดี ทำงานด้วยความตั้งใจ คาถาบทที่ ๕ รู้จักให้ทาน ช่วยเหลือญาติพี่น้อง ทำแต่ความดี มีสัมมาอาชีพ คาถาบทที่ ๖ ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ละเลยในการประพฤติ เว้นการดื่มน้ำเมา คาถาบทที่ ๗ ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักฟัง ธรรมในโอกาสอันควร คาถาบทที่ ๘ มีความอดทน ว่านอนสอนง่าย หาโอกาสพบผู้ดำรงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม คาถาบทที่ ๙ พยายามกำจัดกิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน คาถาบทที่ ๑๐ มีจิตอันสงบ รู้จักปล่อยวางไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ คาถาบทที่ ๑๑ เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวงมีแต่ความสุขความเจริญทุกเมื่อ

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

หัวใจชายหนุ่ม





หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ.2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ปี เดือน อ่านเพิ่มเติม